Dollar Cost Averaging (DCA)
Dollar cost averaging (DCA) คืออะไร
Dollar cost averaging (DCA) หรือ การลงทุนแบบถัวเฉลี่ยต้นทุน เรียกสั้นๆกันว่า DCA นั่นเอง หลายๆ ท่านอาจเคยได้ยินคำๆ นี้ผ่านหูกันมาบ้างสำหรับผู้ที่สนใจในเรื่องของการลงทุนในตลอดหุ้น เรียกได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของนักลงทุนหน้าใหม่ๆที่ยังไม่มีความรู้เรื่องของการลงทุนมากนัก เพราะว่ารูปแบบการลงทุนแบบ DCA (Dollar cost averaging) นั้นมีรูปแบบที่ค่อนข้างง่ายต่อลงทุนที่สุด คล้ายๆกับการออมเงินฝากประจำนั่นแหละ ถึงแม้จะมีความเสี่ยงมากขึ้นกว่าการออมเงินแต่ก็อาจจะได้ผลตอบแทนที่มากกว่าเช่นกัน เพราะในรูปแบบการลงทุนแบบ DCA นั้นจะใช้รูปแบบการลงทุนแบบระยะยาวมากกว่า 3-4 ปีขึ้นไป หรือบางท่านอาจจะถึง 10 ปี หรือมากกว่านั้นก็ได้
หลายๆคนที่เคยลงทุนมาบ้างหรือผู้ที่ยังไม่ได้ลงทุนเพราะอดทนต่อราคาหุ้นที่เดี๋ยวขึ้นเดี๋ยวลงไม่ไหวจนต้องถอดใจกันไปบอกเลยว่าเหมาะกับรูปแบบการลงทุนแบบ DCA ที่สุด เพราะเราไม่ต้องมาวุ่นวายกับหุ้นที่มากหน้าหลายตา เราเพียงเลือกหุ้นมาสัก 1 หรือ 2 ตัวแล้วลงทุนเพียงแค่นี้ก็ได้ เพราะว่าในช่วงเวลาที่เราลงทุนนั้นใช้เวลานานดังนั้นราคาหุ้นที่มีการผันผวนนั้นอาจส่งผลต่อจิตใจของผู้ลงทุนได้ หรือใครที่อยากกระจายการลงทุนอาจจะแบ่งลงทุนเป็นหลายๆหุ้นก็ยังได้
ก่อนที่เราจะลงทุนแบบ DCA นั้นผู้ลงทุนเพียงแค่เลือกหุ้นที่ประกอบธุรกิจที่มีแนวโน้มที่จะเติบโตในระยะยาวหรือมีความมั่นคงในธุรกิจสูงในระดับหนึ่งที่ตนนั้นมั่นใจ เน้นย้ำว่าเราต้องมั่นใจกับหุ้นที่เลือกสักหน่อย จะได้ไม่ต้องจิตตกกับราคาสักเท่าไหร่ เมื่อเราได้หุ้นมาแล้วเราก็กำหนดจำนวนเงินให้ชัดเจนในการใช้ลงทุนและระยะเวลาที่เราจะออมในหุ้นนั้นๆให้แน่นอน เหมือนกับการฝากเงินประจำนั่นแหละ อาจจะเป็นรายสัปดาห์ รายเดือนก็ได้ ยกตัวอย่าง เราจะซื้อหุ้น ABC เดือนละ 1 ครั้ง ครั้งละ 2000 บาท เรามาดูตารางที่ออกมากันดีกว่าว่าจะเป็นยังไงบ้าง
จากตารางจะเห็นได้ว่าในแต่ละเดือนที่เราลงทุนไปนั้นจำนวนหุ้นที่ได้นั้นจากมีปริมาณเพิ่มหรือลดตามราคาที่ขึ้นลงของหุ้นแต่เมื่อสรุปค่าเฉลี่ยออกมาแล้วราคาหุ้นที่ได้ก็จะอยู่ในระดับที่เติบโตตามราคาหุ้นนั่นเอง ดังนั้นถึงเหมาะกับการลงทุนในรูปแบบระยะยาวนั่นเอง ยิ่งถ้าหุ้นที่เราเลือกลงทุนมีการเติบโตที่ดีต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ราคาของหุ้นก็จะเพิ่มมากขึ้นไปทำให้มูลค่าของการลงทุนของเราเพิ่มขึ้นตามไปด้วย แต่หากหุ้นที่เราเลือกมีการเติบโตที่ไม่ดีทำให้ราคาหุ้นลดลงก็จะทำให้เงินที่เราลงทุนลดลงตามไปด้วยเช่นกันดังนั้นการเลือกหุ้นจึงเป็นจุดที่สำคัญที่สุด
เป็นยังไงกันบ้างพอเข้าใจรูปแบบของการลงทุนแบบ DCA กันมากขึ้นหรือไม่ จะบอกว่ารูปแบบการลงทุนแบบ DCA นั้นสามารถนำไปใช้ได้กับการลงทุนอื่นๆได้เช่นกันหากเพียงแค่เลือกปรับใช้กับรูปแบบที่มีการเติบโตหรือมั่นคงสูงเท่านั้นถึงจะเหมาะที่สุด ครั้งหน้าเราจะมาพูดถึงเรื่องข้อดีและข้อเสียของการลงทุนแบบ DCA กัน
ข้อดีและข้อเสียของการลงทุนแบบ DCA
หลังจากที่เราเข้าใจรูปแบบการลงทุนแบบ DCA กันไปแล้ววันนี้เรามาดูข้อเสียและข้อดีของการลงทุนแบบ DCA กันดีกว่าว่าเป็นอย่างไรบ้าง ก่อนที่เราจะใช้กลยุทธ์ต่างๆ ไม่ว่าจะรูปแบบใดเหนื่ออื่นใดต้องดูเรื่องข้อดีและข้อเสียกันให้ดีก่อนเพราะแต่ละครั้งก็อาจส่งผลเสียให้กันเราก็ได้
ข้อดีของการลงทุนแบบ DCA
- เหตุผลเหนืออารมณ์ การลงทุนในรูปแบบนี้จะสร้างวินัยต่อผู้ทำการลงทุนโดยใช้หลักเหตุและผลมากกว่าการใช้อารมณ์ เนื่องด้วยราคาที่ผันผวนอาจจะทำให้จิตใจสั่นคลอนต่อการลงทุน หรือในช่วงขาลงของราคาหุ้นนั้นหากเรามั่นใจในธุรกิจอยู่แล้วยิ่งในช่วงเวลาราคาที่ปรับตัวลงมากลับทำให้เรายิ่งรู้สึกดีที่ได้เข้าซื้อหุ้นในราคาที่ถูก เรียกได้ว่าสบายใจทั้งขึ้นทั้งลงเลยทีเดียว
- วินัยสำคัญต่อการลงทุน ด้วยรูปแบบของการลงทุนแบบ DCA นั้นจะบังคับให้ผู้ลงทุนลงทันแบบต่อเนื่องไม่ว่าในสภาวะตลาดแบบใดก็ตาม ไม่ว่าราคาจะถูกจะแพงก็ยังคงลงทุนอยู่โดยไม่หยุด ถือว่าเป็นการสร้างวินัยที่ดีต่อผู้ลงทุนได้มากเลยทีเดียว ยิ่งถ้าหากผลตอบแทนจากการลงทุนนั้นเพิ่มพูนมากขึ้นไปเรื่อยๆ ยิ่งทำให้ผู้ลงทุนอยากลงทุนมากเพิ่มขึ้นไปได้อีกเรื่อยๆ
ข้อเสียของการลงทุนแบบ DCA
- ผลตอบแทนน้อย เนื่องด้วยรูปแบบการลงทุนแบบสม่ำเสมอนั้น ทำให้เราซื้อสินทรัพย์ในราคาที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นตามไปด้วยทำให้ต้นทุนก็สูงตามไปด้วยเช่นกัน ถึงแม้จะมีการเติมโตอย่างต่อเนื่องแต่ก็ทำให้ผลตอบแทนของกำไรนั้นอาจจะไม่หวือหวาสักเท่าไหร่ดังนั้นจึงไม่เหมาะกับผู้ที่คาดหวังผลกำไรที่ก้าวกระโดด
- ไม่ได้ลดความเสี่ยงในการลงทุน ถึงแม้จะดูว่าเหมือนจะปลอดภัยในการลงทุนแต่อย่าลืมว่าในการลงทุนทุกรูปแบบมักมีความเสี่ยงเสมอดังนั้นหากเลือกหุ้นมาผิดอาจจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการลงทุนไปโดยไม่รู้ตัวเนื่องจากเป็นรูปแบบการลงทุนในระยะยาวยิ่งราคาปรับลงยิ่งทำให้ราคาต้นทุนเพิ่มตามไปเช่นกัน
จากข้อดีและข้อเสียข้างต้นก็จะคล้ายๆกับการลงทุนในรูปแบบอื่นๆเช่นกันเพราะไม่ว่ารูปแบบการลงทุนแบบใดก็มีความเสี่ยงเสมอขึ้นอยู่กับผู้ทำการลงทุนนั้นจะรับความเสี่ยงได้มากน้อยแค่ไหน
หากผู้ที่สนใจอยากลงทุนในรูปแบบ DCA สามารถเริ่มจากการลงทุนในกองทุนต่างๆ ดูก่อนก็ได้ โดยให้เลือกมาสัก 1-2 กองทุนหรือมากกว่านั้นก็ได้แล้วแบ่งเงินที่จะลงทุนไปตามสัดส่วนที่จะลงทุนเพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยง เนื่องจากระบบกองทุนนั้นจะมีนโยบายในการลงทุนที่เราสามารถเข้าใจได้ง่ายและมีความเสี่ยงที่ต่ำถึงแม้ผลตอบแทนจะไม่สูงก็ตาม แต่ถือว่าเป็นการเริ่มต้นในการศึกษาการลงทุนได้ดีทีเดียว
ตัวอย่างการ DCA หุ้น
วันนี้ผมจะมายกตัวอย่างรูปแบบของการ DCA หุ้นให้เห็นภาพยิ่งขึ้นไปโดนการจำลองเหตุการราคาหุ้นในระยะเวลา 1-2 ปี ที่มีการปรับตัวขึ้นและลงทั้งแบบราคาเริ่มต้นสูงแล้วค่อยปรับตัวเป็นหุ้นขาลง หรือเริ่มต้นจากราคาหุ้นน้อยแล้วค่อยปรับตัวเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้เห็นภาพได้อยากชัดเจนมากยิ่งขึ้น
จากตารางแรกจะเห็นได้ว่าไม่ว่ารูปแบบของราคาจะเริ่มต้นจากราคาแบบไหน ทั้งการปรับตัวขึ้นและลงสวนทางกันก็ตาม สุดท้ายแล้วจำนวนหุ้นที่ได้ก็เท่าเดิมเมื่อเทียบกันจำนวนเงินที่ลงทุนไป แต่สิ่งที่แตกต่างก็คือมูลค่าของราคาหุ้นในช่วงเวลานั้นๆต่างหากที่จะบอกได้ว่ามีมูลค่าอยู่เท่าไหร่ กำไรหรือขาดทุนอยู่ในช่วงเวลานั่นๆ ถ้างั้นผมขอเพิ่มอีกตัวอย่างให้อีกสักหนึ่งตัวอย่าง รอบนี้จะเป็นการปรับตัวกลับไปกลับมาที่ราคาเดิมที่ซื้อในเดือนแรกโดยใช้ระยะเวลา 2 ปี จะเป็นยังไงไปดูกัน
จากตางรางตัวอย่างจะเห็นได้ว่าจำนวนหุ้นที่ได้ก็ยังคงเดิมเท่ากันเหมือนเดิมถึงแม้จะมีการปรับราคาเปลี่ยนไปมาจนกลับมาที่ราคาเดิมแล้วก็ตามแล้วก็ผลของมูลค่าจากราคาในเดือนสุดท้ายนั้นก็ยังคงให้ผลลัพธ์เหมือนเดิมก็คือผลของมูลค่าจะกำไรหรือขาดทุนก็อยู่ที่ราคาในช่วงเวลานั้นๆเช่นเดิม แต่ถ้าเราสังเกตุจะเห็นได้ว่าจากตารางทั้งสองแบบจะมีส่วนต่างของกำไรขาดทุนอยู่ที่ ถ้าขาดทุน จะขาดทุนที่ 34.01% แต่ถ้ากำไรจะอยู่ที่ 46.65% แต่ผลของกำไรและขาดทุนไม่ได้กำหนดส่วนต่างไว้อย่างที่เห็นนะครับอันนี้เป็นแค่ผลจากข้อมูลในตารางเพียงแค่นั้น ซึ่งเปอร์เซ็นต์ของกำไรขาดทุนจริงๆแล้วนั้นจะดูได้จากราคาค่าเฉลี่ยต่างหาก ยิ่งราคามากกว่าราคาค่าเฉลี่ยเท่าไหร่ก็ยิ่งเป็นกำไรที่เปอร์เซ็นต์สูงขึ้น หรือหากราคาในช่วงเวลานั้นต่ำกว่าค่าเฉลี่ยมาก ก็จะยิ่งทำให้เปอร์เซ็นต์ขาดทุนยิ่งมากขึ้นเช่นกัน ไม่ว่าจะลงทุนในรูปแบบใดก็อย่าลืมที่จะศึกษาข้อมูลของทรัพย์สินนั้นๆให้ดีก่อนลงทุนเสมอ
แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความนี้